Deprecated: Assigning the return value of new by reference is deprecated in /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/includes/joomla.php on line 844

Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/includes/joomla.php:844) in /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/includes/joomla.php on line 697

Deprecated: Function split() is deprecated in /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/components/com_rss/rss.php on line 75

Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/includes/joomla.php:844) in /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/includes/feedcreator.class.php on line 672

Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/includes/joomla.php:844) in /srv/disk2/kanchanaman/www/kanchanaman.awardspace.info/includes/feedcreator.class.php on line 673
Joomla! powered Site Joomla! site syndication http://kanchanaman.awardspace.info 2024-04-16T17:54:42+01:00 Powered by Joomla! http://kanchanaman.awardspace.info http://kanchanaman.awardspace.info/images/M_images/joomla_rss.png text/html 2011-03-08T00:05:45+01:00 http://kanchanaman.awardspace.info ประวัติครูเจริญใจ สุนทรวาทิน http://kanchanaman.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=51&Itemid=2 ประวัติครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ครูเจริญใจ สุนทรวาทินเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๘ เป็นบุตรี พระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) กับคุณหญิงเสนาะดุริยางค์(เรือน) ชาวกรุงเทพมหานคร(ฝั่งธนบุรี) บิดาเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นเจ้ากรมปี่พาทย์หลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพี่สาวชื่อนางเลื่อน สุนทรวาทิน เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียง นางเจริญใจ สุนทรวาทิน เรียนดนตรีกับบิดาจนสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด โดยเฉพาะที่มีความเชี่ยวชาญในการสีซอสามสายเป็นพิเศษ เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้รับรางวัลที่๓ การขับร้องในคราวประชันวงปี่พาทย์ที่วังบางขุนพรหม เมื่อพ.ศ.๒๔๖๖ และได้รับรางวัลที่๑ ในการประกวดขับร้องเพลงไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อพ.ศ.๒๔๙๒ text/html 2009-11-18T09:23:38+01:00 http://kanchanaman.awardspace.info นางโขน 2 http://kanchanaman.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=50&Itemid=2 นางโขน ตอนที่ ๒ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์* (http://fda.bpi.ac.th/View/nk_2.html#_ftn1) องค์ประกอบของนางโขน นางโขน ในที่นี้คือการใช้ผู้ชายแสดงเป็นตัวนางตามแบบอย่างโบราณ มีองค์ประกอบดังนี้ การคัดเลือกผู้แสดง นางโขนในแง่ของนาฏศิลป์ หมายถึง ตัวละครผู้หญิงที่มีรูปร่างสวยงาม เป็นที่สะดุดตาของผู้ชม อันหมายถึงนางโขนที่เป็นเทพ ได้แก่ พระอุมา พระลักษมี นางวานริน นางโขนที่เป็นมนุษย์ ได้แก่ นางสีดา นางมณโฑ นางไกยเกษี นางโขนที่เป็นมนุษย์กึ่งสัตว์ ได้แก่ นางสุพรรณมัจฉา นางอัคคี นางอนงค์นาคี นางโขนที่เป็นยักษ์ ในที่นี้หมายถึงยักษ์ที่มีลักษณะเหมือนตัวนางทั่วไป มิได้มีหน้าตาเป็นยักษ์ ได้แก่ นางเบญกาย นางตรีชดา นางสุวรรณกันยุมา ข้อที่น่าวิเคราะห์คือ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งหน้านางโขนคือ นางตรีชดา และพระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาว่า “ความประสงค์ของฉันอยากให้หน้าใกล้คนสักหน่อย” แสดงว่าในสมัยนั้นการแต่งหน้านางโขนที่เป็นยักษ์ผู้ดีหรือยักษ์จิตใจงามคงจะ แต่งหน้าให้เหมือนนางมนุษย์ทั่วไป การคัดเลือกผู้แสดงชายให้เป็นโขนตัวนาง น่าจะมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑. รูปร่าง ไม่สูงเกินไปและไม่ควรสูงกว่าโขนตัวพระ ทรวดทรงองค์เอวเพรียวระหง แต่อาจท้วมเล็กน้อยก็ไม่ถึงกับเป็นข้อห้าม ลำแขนไม่ควรยาวเกินไปเพราะจะขัดกับเครื่องแต่งกายคือผ้าห่มนาง ทำให้ดูเก้งก้าง ถ้าเลือกคนที่มีลำแขนยาวควรเลือกคนที่มีลำแขนค่อนข้างสั้นและรูปร่างท้วม หรืออ้วนนิดหน่อยจะน่าดูกว่า สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือช่วงของสะโพกควรผายออกเล็กน้อย หรือมีเนื้อตรงสะโพกพอประมาณ เพราะถ้าเลือกคนที่สะโพกลีบหรือก้นปอดจะดูเป็นผู้ชายเต็มตัวและอาจดูตลก มากกว่าดูงาม ๒. หน้าตา ควรมีหน้าตาค่อนข้างสวย ได้แก่ ตาคม จมูกโด่ง ปากกระจับ วงหน้าเป็นรูปไข่ อาจค่อนข้างกลมหรือเหลี่ยมเล็กน้อยก็ไม่เป็นข้อตำหนิ แต่มีข้อจำกัดบางประการคือ ถ้าเป็นนางที่สวมมงกุฎกษัตรีย์ควรมีวงหน้าเป็นรูปไข่หรือกลม ไม่ควรเลือกคนมีวงหน้าเหลี่ยมเพราะจะขัดกับศิราภรณ์ ส่วนคนที่สวมรัดเกล้ายอดหรือรัดเกล้าเปลวอาจเลือกคนที่มีวงหน้าเหลี่ยมได้ บ้าง เพราะผมยาวที่แสกกลางจะช่วยทำให้ดูอ่อนหวานขึ้น ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ แสดงเป็นนางสีดา ในการ แสดงโขน ตอนอุบายนาง อดูลปิศาจ text/html 2009-11-17T15:34:21+01:00 http://kanchanaman.awardspace.info นางโขน http://kanchanaman.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=49&Itemid=2 นางโขน ตอนที่ ๑ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์การแสดงโขนในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้ศิลปินชายแสดงเป็นนางมณโฑ การแสดงโขนของไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสืบมาถึงปัจจุบันโดยไม่ขาดตอน และได้รับการจัดให้เป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบแผน ซึ่งมีกฎระเบียบวิธี รวมทั้งจารีตประเพณีของไทยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงเชื่อได้ว่าโขนเริ่มต้นมาจากราชสำนักโดยใช้มหาดเล็กเป็นผู้แสดงและเล่น เฉพาะเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว เพราะมีความเกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์ โดยแสดงถึงบุญญาภินิหารและการปราบอริราชศัตรู เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎร์ จากการที่โขนต้องใช้มหาดเล็กผู้ชายทั้งหมดเป็นผู้แสดง ดังนั้น บทบาทของตัวนางก็ต้องใช้ผู้ชายเป็นผู้แสดงด้วย ได้แก่ บทของนางสีดา นางเบญกาย ดังที่ปรากฏภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นโขนตอนพิธีอุโมงค์ เห็นได้ว่าใช้ผู้ชายแสดงเป็นนางมณโฑในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งคณะโขนในกรมมหรสพ ก็ทรงใช้ผู้ชายแสดงเป็นตัวนางทั้งสิ้น ดังปรากฏชื่อของศิลปินและบรรดาศักดิ์ในทำเนียบข้าราชการกรมมหรสพดังนี้ วิไลยวงวาด – ครูนาง (ฉุน กานตะนัฏ) - ขุน เจนภรตการ – ครูนาง (แปลก มงคลนัฏ) - ขุน จิตรภรตการ – ครูนาง (แถม วิบุลยนัฏ) - ขุน วาดพิศวง – ครูนาง (แถม ศิลปชีวิน) - ขุน (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๔๙๕ - ๕๐) ในการแสดงโขนแต่ละครั้ง นอกจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงกำกับการแสดงด้วยพระองค์เองแล้ว บางครั้งยังทรงแต่งหน้าให้กับโขนตัวนางด้วย ดังความในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานมายังพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ที่กำลังนั่งชมโขนอยู่หน้าเวทีว่า....ขอให้ดูหน้านางตรีชดาสักหน่อย เพราะฉันได้เป็นผู้ผัดเอง ใช้สีสำหรับแต่งหน้าอย่างฝรั่ง ความประสงค์ของฉันอยากให้หน้าใกล้คนสักหน่อย ผัดฝุ่นอย่างลครไทย หน้ามันไม่เป็นคน เหมือนไม่ใช่เนื้อใช่หนัง ทาเอาเหมือนฉาบปูนกำแพง มันจะเปนเรื่องอะไร..... (หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล, ๒๕๑๘ – ๗๙) จากข้อความข้างต้นนอกจากทำให้ทราบว่าศิลปินโขนคือมหาดเล็กผู้ใกล้ชิดเบื้อง พระยุคลบาทแล้ว ยังได้ภาพสะท้อนว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้โขนตัวนางแต่งหน้าทาแป้งตามจารีตเดิมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยา คือการเปิดหน้าจริง แต่ผัดหน้าทาปากตามสากลนิยม ซึ่งดูเป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างไรก็ตาม เคยพบหน้าโขนที่ทำเป็นตัวนางบ้าง แต่เป็นหน้านางเทพธิดา ซึ่งอาจจะทำขึ้นใช้เฉพาะกิจในบางกรณีก็เป็นได้ text/html 2009-09-27T17:03:07+01:00 http://kanchanaman.awardspace.info การกำเนิดของลิงในเรื่องรามเกียรติ์ http://kanchanaman.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=2 การกำเนิดของลิงในเรื่องรามเกียรติ์ กล่าว ถึงท้าวโคดมผู้ครองนครสาเกด ไม่มีธิดาและโอรส เกิดความเบื่อหน่ายราชสมบัติจึงออกผนวชเป็นดาบสบำเพ็ญพรตสองพันปี จนหนวดเครารกรุงรัง ยังมีนกกระจาบป่าสองตัวผัวเมียเวียนออกไข่ที่หนวดเคราพระฤๅษี จนบังเกิดเหตุ นกตัวผู้ออกไปหากินชะมดอกบัวจนมืดค่ำ กลีบดอกบัวหุบลงมากักตัวไว้ เช้าวันรุ่งขึ้นดอกบัวคลี่บาน จึงบินกลับรัง เล่าเรื่องราวให้นางนกฟัง แต่นางนกไม่ยอมเชื่อ หาว่าไปติดนกสาวตัวอื่น ฝ่ายนกตัวผู้จึงสาบานตนว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ขอรับเอาบาปของดาบสไว้แก่ตนเอง text/html 2009-09-18T08:42:21+01:00 http://kanchanaman.awardspace.info ละครพูด http://kanchanaman.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=47&Itemid=2 ละครพูด เริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก ละครพูดในสมัยนี้แตกต่างกับละครพูดในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในสมัยหลัง เกี่ยวกับเนื้อเรื่องคือ เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่เรารู้จักกัน อย่างแพร่หลาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงการแสดงละครพูดในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่ หัว ว่า บางทีมีการสโมสรปีใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เล่นละครสมัครเล่น ผู้ที่เล่นเจ้านายก็มี ขุนนางก็มี แล้วแต่ใครจะสมัครเล่น แต่เล่นเป็นละครพูด นับว่าละครพูดในภาษาไทยมีขึ้นเป็นครั้งแรกในครั้งนั้น นำเอาเรื่องละครรำ เช่น สังข์ศิลป์ชัยมาเล่นเป็นละครพูดบ้าง เอาเรื่องนิทานมาเล่นบ้าง